ไวโอลิน ถือเป็นหนึ่งในเครื่องดนตรีสากลที่มีประวัติศาสตร์เชื่อมโยงกับมนุษย์เรามาอย่างยาวนานอีกทั้งยังมีเสียงที่เป็นเอกลักษณ์ สามารถมอบทั้งความสุขและความเศร้าระหว่างการเล่นได้เป็นอย่างดี ซึ่งในยุคปัจจุบันเครื่องดนตรีชนิดถูกผลิตออกมามากมายหลากหลายรูปแบบ ทั้งยังเป็นหนึ่งในเครื่องดนตรีชิ้นสำคัญที่ได้รับความนิยมระดับสากล ดังนั้น 5 เรื่องที่เราควรรู้ก่อนเล่นจึงมีดังนี้
1. ประวัติความเป็นมา
ไวโอลิน เป็นเครื่องดนตรีประเภทสายที่ถูกสร้างขึ้นในช่วงคริสต์ตวรรษที่ 16 ซึ่งเครื่องดนตรีต้นแบบของการสร้างรุ่นแรกคือ เรเบค (Rebec) , ซอเรอเนซองซ์ ( The Renaissance Fiddle ) และ ลีราดาบราชโช ( Lira Da Braccio ) ทำให้ความหลากหลายมีมากยิ่งขึ้น ซึ่งประกอบไปด้วย
- ไวโอลิน ( Violin )
- วิโอลา ( Viola )
- เชลโล ( Cello )
- ดับเบิลเบส ( Double Bass )
2. ส่วนประกอบชิ้นสำคัญ
อุปกรณ์ชิ้นสำคัญของเครื่องดนตรีชนิดนี้มี 2 ส่วน คือ
2.1 ส่วนตัวเครื่องดนตรีที่ประกอบไปด้วย
- ส่วนหัว ( Scroll )
- โพรงลูกบิด ( Pegbox ) เป็นช่องสำหรับยึดลูกบิดกับสาย
- ลูกบิด ( Peg ) ใช้สำหรับตั้งสาย
- สาย ( String )
- คอ ( Neck )
- ฟิงเกอร์บอร์ด ( Fingerboard ) เป็นส่วนที่ใช้ในการรับแรงกดของสายเวลาเล่น
- ตัวส่วนบน ( Upper Bout )
- เอว หรือ ส่วนเว้าของตัวเครื่อง ( Waist )
- ช่องเสียง ( F-holes ) ทำหน้าที่กระจายเสียง
- หย่อง ( Bridge ) ทำหน้าที่ยกตัวสายให้สูงเหนือตัวฟิงเกอร์บอร์ด
- ตัวส่วนล่าง ( Lower Bout )
- ตัวปรับเสียง ( Fine Tuners ) เป็นก้านโลหะที่ใช้สำหรับปรับสายให้ตึงหรือหย่อนเพื่อช่วยให้การตั้งสายง่ายมากขึ้น
- หางปลา ( Tailpiece ) เป็นส่วนที่ใช้ยึดสายบริเวณตัวเครื่องกับส่วนล่าง
- ที่รองคาง ( Chinrest ) ใช้สำหรับรองคางขณะเล่น
2.2 คันชัก
- เกลียวทองเหลือง ( Screw ) ใช้ในการขันเพื่อทำให้หางม้าตึง
- หนังหุ้มด้ามคันชัก ( Pad ) มีไว้เพื่อกันนิ้วลื่นเวลาเล่น
- แกนไม้ ( Stick ) เป็นส่วนแกนหลักของตัวคันชักใช้สำหรับยึดส่วนหางม้า
- หางม้า ( Hair ) เป็นส่วนที่ใช้สัมผัสกับตัวสายเวลาสีเพื่อให้เกิดเสียง
- ส่วนยึดหางม้า ( Frog ) เป็นส่วนที่ใช้ยึดหางม้าและใช้จับเพื่อให้ใช้งานได้ถนัดเวลาเล่น
3. อุณหภูมิและความชื้น
สำหรับการดูแลรักษา ไวโอลิน เราจำเป็นต้องใส่ใจในเรื่องความสม่ำเสมอ เนื่องจากเครื่องดนตรีชนิดนี้ผลิตมาจากไม้เป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นอุณหภูมิและความชื้นจึงมีส่วนทำให้เกิดความเสียหายได้ง่าย
- ความชื้นในห้องเก็บ ไม่ควรมากหรือน้อยจนเกินไป เพื่อป้องกันการบวมและการหดตัวของตัวเครื่อง
- อุณหภูมิสามารถส่งผลต่อการหดขยายตัวของไม้และโลหะที่เป็นส่วนประกอบหลัก จนส่งผลต่อเสียงเพี้ยนและเกิดข้อผิดพลาดระหว่างการเล่นได้
- การขนย้ายเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดความเสียหายได้ ดังนั้นหากต้องขนย้ายไปยังสถานที่ต่าง ๆ ควรใช้กล่องเก็บเครื่องดนตรีเพื่อป้องกันการกระแทกและความชื้นที่อาจเกิดขึ้นได้ระหว่างการเดินทาง
4. ขั้นตอนการดูแลรักษา ไวโอลิน
สำหรับขั้นตอนการดูแลรักษาจำเป็นต้องแบ่งส่วนการดูแลออกเป็น 2 ส่วนดังนี้
- ส่วนตัว
ควรเช็ดทำความสะอาดด้วยผ้านุ่ม ๆ ทุกครั้งหลังเล่น และควรเก็บรักษาไว้ในกล่องหรือซองเพื่อป้องกันฝุ่นและความเสียหาย นอกจากนี้เพื่อยืดอายุการใช้งานและคงประสิทธิภาพของเสียงให้ไพเราะอยู่เสมอ ควรให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจเช็กส่วนต่าง ๆ ของตัวเครื่องอย่างน้อยปีละ 1 – 2 ครั้ง
- คันชัก
หลังจากการใช้งานทุกครั้งเราจำเป็นต้องผ่อนความตึงของหางม้าเพื่อป้องกันการคดงอของตัวคันชักและควรเก็บคันชักไว้ในกล่องที่เหมาะสมเพื่อป้องกันความเสียหายต่าง ๆ แต่กรณีที่หางม้าขาด ไม่ควรดึงหางม้าออกทันที ควรใช้กรรไกรตัดเพื่อป้องกันการสัมผัสโดยตรงที่ตัวหางม้า อีกหนึ่งสิ่งที่ควรระวังคือ ระหว่างคันชักกับหางม้าจะมีกาวยึดบริการดังกล่าวอยู่ ดังนั้นจึงไม่ควรให้โดนน้ำเพราะอาจทำให้กาวเสื่อมสภาพได้
5. วิธีการเลือกซื้อ
ในการเลือกซื้อ เราจำเป็นต้องคำนึงเรื่องขนาดเป็นหลัก เพื่อให้เราสามารถใช้งานเครื่องดนตรีของเราได้เต็มประสิทธิภาพ โดยขนาดสามารถแบ่งได้ 7 ขนาด คือ
- 4/4 (ขนาด Full Size): 23 นิ้ว
- ¾: 22 นิ้ว
- ½: 20 นิ้ว
- ¼: 18.5 นิ้ว
- 1/8: 16.5 นิ้ว
- 1/10: 16 นิ้ว
- 1/16: 14 นิ้ว
ซึ่งแต่ละขนาดส่งผลต่อความสะดวกในการเล่นของแต่ละบุคคล ดังนั้นจึงต้องทดลองและเลือกขนาดที่เหมาะสมกับเราให้ได้มากที่สุด โดยวิธีการวัดขนาดสามารถทำได้ด้วยการยืดแขนออกไปด้านข้างให้ตั้งฉากกับลำตัว จากนั้นวัดจากกลางฝ่ามือไปจนถึงต้นคอเพื่อให้ได้ขนาดที่เหมาะสมกับเรามากที่สุด
ด้วยเหตุที่ ไวโอลิน เป็นเครื่องดนตรีที่มีความละเอียดอ่อน ดังนั้นเรื่องดังกล่าวข้างต้นจึงเป็นหนึ่งในเรื่องน่ารู้สำหรับมือใหม่ที่กำลังจะหัดเล่น เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการใช้งานและการเลือกซื้อ ทั้งนี้ควรคำนึงถึงเรื่องงบประมาณและวัตถุประสงค์ในการใช้งานเป็นหลัก เพื่อให้เราเลือกซื้อได้อย่างเหมาะสมที่สุด
อ่านบทความ ฮาร์ป เสน่ห์ของเครื่องดนตรีสุดคลาสสิก และประวัติที่ควรรู้
เครดิต www.freepik.com