ลำโพง ประเภท Passive และ Active แตกต่างกันอย่างไร ? ใช้แบบไหนดี คำถามดังกล่าวนี้เป็นหนึ่งในคำถามยอดนิยมที่ลายคนมักตั้งข้อสงสัย ด้วยเหตุที่เครื่องขยายเสียงในยุคปัจจุบันมีมากมายหลายชนิด หลายรูปแบบที่เราสามารถเลือกซื้อได้ แต่ถึงอย่างนั้นความสามารถในการตอบโจทย์ของเครื่องขยายเสียงแต่ละแบบก็มีความแตกต่างและมีจุดเด่นที่ไม่เหมือนกัน และเพื่อให้เครื่องขยายเสียงสามารถตอบโจทย์การใช้งานในแบบของเราได้มากที่สุด เราจึงจำเป็นต้องรู้ประเภทของเครื่องขยายเสียง ว่ามีจุดเด่นและข้อจำกัดอย่างไร
ลำโพง ประเภท Active
เครื่องขยายเสียงประเภท Active เป็นที่รู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งว่า ลำโพงที่มีแอมป์ในตัว ซึ่งเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของเครื่องขยายเสียงชนิดนี้คือมีช่องเสียบปั๊กไฟและช่องอินพุตสัญญาณสำหรับเชื่อมต่อหรือพ่วงการใช้งานกับอุปกรณ์อื่น ๆ แน่นอนว่าบางยี่ห้อหรือบางรุ่นยังเสริมฟังชันการใช้งานแบบใหม่เช่น มิกเซอร์, ระบบเล่นเพลงผ่านบลูทูธ, ไมค์ลอย, ฟังก์ชัน DSP ที่สามารถควบคุมการใช้งานได้ ผ่านแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟน , แท็ปเล็ต และคอมพิวเตอร์
- จุดเด่นของ Active :
-เครื่องขยายเสียงชนิดนี้เป็นหนึ่งในเครื่องที่ถูกตั้งค่าจากโรงงานมาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จึงไม่จำเป็นต้องปรับแต่งสิ่งใดเพิ่มเติม
-เครื่องขยายเสียงประเภท Active สามารถขนย้ายได้ง่าย พกพาสะดวก อีกทั้งยังสามารถใช้งานได้ทันที ไม่ต้องขนย้ายหรือเพิ่มเติมอุปกรณ์เสริม นอกจากนี้ตัวเครื่องยังมีแบตเตอรี่ในตัว เพิ่มความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น จึงไม่จำเป็นต้องเสียบปั๊กไฟขณะใช้งาน ช่วยเพิ่มอิสระในการใช้งานนอกสถานที่ได้อย่างลงตัว
- ข้อจำกัด
-ด้วยเหตุที่เครื่องขยายเสียงประเภทนี้เป็นหนึ่งในเครื่องขยายเสียงที่มาพร้อมฟังก์ชันการใช้งานที่ค่อนข้างครบครัน ตอบโจทย์การใช้งานได้หลากหลาย ดังนั้นจึงมีราคาสูงกว่าเครื่องขยายเสียงแบบ Passive มาก
-คุณภาพเสียงอาจไม่ได้มาตรฐานที่สูงนัก เนื่องจากการออกแบบ การปรับจูน อาจให้คุณภาพเสียงด้อยกว่าเครื่องขยายเสียงแบบ Passive เล็กน้อย
- เหมาะกับใคร
เหมาะสำหรับมืออาชีพและมือใหม่ที่ต้องการความคล่องตัวในการใช้งานกลางแจ้งหรือนอกสถานที่ ตลอดจนผู้ที่ไม่ต้องการความยุ่งยากในการใช้งานและความสะดวกในการเคลื่อนย้ายรวมถึงการติดตั้ง
ลำโพง ประเภท Passive
เครื่องขยายเสียงแบบ Passive เป็นเครื่องขยายเสียงที่สามารถพบได้บ่อย อีกทั้งยังเป็นหนึ่งในเครื่องที่นิยมนำมาใช้กลางแจ้งหรือเป็นเครื่องขยายเสียงตามบ้าน มีการติดตั้งและขนาดของตัวเครื่องให้เลือกหลากหลาย ซึ่งเครื่องขยายเสียงหรือ Power Amplifier เป็นตัวขยายสัญญาณเสียงที่สามารถส่งสัญญาณเสียงได้โดยตรงดังนั้นภายในเครื่องขยายเสียงจึงไม่มีวงจรที่ซับซ้อนหรือเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยมากนัก
- จุดเด่นของ Passive
-เครื่องขยายเสียงแบบ Passive มีความสามารถในการจับคู่กับเครื่องขยายเสียงได้อย่างรวดเร็วถูกต้องและชัดเจน อีกทั้งคุณภาพเสียงยังมีความละเอียด เสียงพุ่งไปไกล และมีมิติของเสียงที่ดีมาก
-ในกรณีที่ผู้ใช้งานมีเทคนิคและความรู้ในเรื่องวิศวกรรมหรืองานช่าง สามารถอัพเกรดอุปกรณ์หรือเครื่องขยายเสียงให้มีความสามารถเพิ่มมากขึ้นได้ เพื่อช่วยให้การจัดการอุปกรณ์ต่าง ๆ ทำได้อย่างอิสระ อีกทั้งยังช่วยเพิ่มคุณภาพเสียงให้เราได้อีกด้วย
- ข้อจำกัด
-ในทางตรงกันข้ามหากเครื่องขยายเสียงแบบ Passive จับคู่กับอุปกรณ์ที่ไม่เหมาะสมหรือไม่เข้ากัน คุณภาพของเสียงที่ได้จากต่ำมาก หรืออาจทำให้คุณภาพเสียงที่เชื่อมต่อนั้นเกิดข้อผิดพลาดหรือเพี้ยนได้ง่าย ดังนั้นในการจับคู่แต่ละครั้งจึงจำเป็นต้องให้ความสำคัญและใช้เทคนิคเพื่อให้การทำงานร่วมกับอุปกรณ์อื่นเป็นไปได้ด้วยดี
-เครื่องขยายเสียงประเภท Passive ไม่เหมาะกับงานที่ต้องใช้ความคล่องตัวสูง เนื่องจากเครื่องขยายเสียงประเภทนี้จำเป็นต้องขนย้ายอุปกรณ์เป็นจำนวนมาก
-เพื่อให้ได้คุณภาพเสียงที่ดีผู้ใช้งานต้องจ่ายค่าอัพเกรดระบบภายในที่มีราคาค่อนข้างแพง
- เหมาะกับใคร
ลำโพงแบบ passive เหมาะกับคนที่มีประสบการณ์ในเรื่องเครื่องเสียง รวมถึงผู้ที่มีความรู้ในด้านการใช้งานและระบบโครงสร้างภายใน เนื่องจากเครื่องขยายเสียงประเภทนี้ ต้องใช้งบประมาณพอสมควร เพื่อแลกกับคุณภาพดีหรือเพื่ออัพเกรดให้สามารถใช้งานได้ในระยะยาวและมีคุณภาพเสียงที่ตรงตามมาตรฐานขั้นสูง
ลำโพง ทั้งแบบ Active และ Passive มีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันขึ้นอยู่กับการใช้งานและประสบการณ์ของผู้ใช้ทั้งนี้ในเรื่องของประสบการณ์และการใช้งานเราสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อประกอบการตัดสินใจ ตลอดจนวางงบประมาณก่อนตัดสินใจได้ สำหรับใครที่พอมีประสบการณ์ในเรื่องของการใช้เครื่องขยายเสียงแล้วระยะหนึ่ง ระบบ Passive ก็เหมาะมากสำหรับการใช้งานที่เน้นเรื่องคุณภาพแต่สำหรับคนที่ชื่นชอบความเรียบง่ายความสะดวกสบายแบบ active ก็สามารถตอบโจทย์ได้ดีไม่แพ้กัน
เครดิตรูปภาพจาก www.pexels.com
อ่านบทความ 8 ร้านค็อกเทล กรุงเทพฯ บรรยากาศดี เครื่องดื่มฟิน หลากหลายสไตล์ 2022