แซกโซโฟน เป็นเครื่องดนตรีประเภท เครื่องเป่า ที่หลาย ๆ คนหลงรัก เพราะเสียงที่คลาสสิก และมีความเป็นเอกลักษณ์ในตัว โดยถือเป็นเครื่องลมไม้ ที่ใช้ลิ้นเดี่ยวเหมือนคลาริเน็ต และตัวเครื่องมักจะทำด้วยโลหะ ลักษณะเสียงจะมาทางเครื่องลมไม้ นอกจากจะเป็นเครื่องดนตรีที่เล่นเดี่ยวได้แล้ว ยังมักพบเครื่องดนตรีชนิดนี้ในวงโยธวาทิต วงดนตรีลูกทุ่ง วงแตรวง วงแจ๊ส ตลอดจนถึงวงออร์เคสตร้า
เมื่อหลาย ๆ คนมีเครื่องดนตรีชนิดนี้เรียบร้อยแล้ว สิ่งที่คนรักเครื่องดนตรีทั้งหลายต้องทราบ นั่นคือ ดูแลรักษา แซกโซโฟน อย่างไรให้อยู่กับเราไปได้นาน ๆ เพื่อยืดอายุการใช้งานเครื่องดนตรีของเราให้อยู่กับเราไปนาน ๆ และการดูแลเครื่องดนตรีที่ดีนั้น จะช่วยประหยัดเงินในกระเป๋าคุณ เพื่อให้คุณเราไม่ต้องซ่อมแซมอุปกรณ์อยู่บ่อยครั้ง

ดูแลรักษา แซกโซโฟน อย่างไรให้อยู่กับเราไปได้นาน ๆ
1. เตรียมอุปกรณ์ หรือชุดทำความสะอาด แซกโซโฟน
อุปกรณ์ทำความสะอาดส่วนใหญ่จะประกอบไปด้วย แปรงขัด หรือผ้าที่มีลักษณะสายยาว ที่มีทุ่นน้ำหนักถ่วงปลายอีกด้านหนึ่ง โดยมีกระดิ่งเพื่อถ่วงน้ำหนัก สำหรับดึงเวาสอดผ้าทำความสะอาดเข้าไปที่ แซกโซโฟน เพื่อให้เรานำปลายที่ถ่วงน้ำหนักเวลาเช็ด หรือเวลาดึงผ้าออกจากช่องต่าง ๆ บางครั้งอาจจะมีน้ำยาทำความสะอาดร่วมด้วย ซึ่งมีจำหน่ายทั่วไป ราคาไม่แพงจนเกินไป และแปลงขัดด้ามยาว หรือแซ่ล้างแตร
2. ถอดอุปกรณ์ แซกโซโฟน ออกแยกชิ้น วางไว้ให้เป็นระเบียบ
โดยการถอดเครื่องดนตรีประเภท แซกโซโฟน จะต้องพยายามอย่าออกแรงกดลงบนกลไกนิ้วเสียงหรือเดือยกลไกทั้งนี้เพื่อป้องกันการโค้งงอของน๊อตเดือย และกลไกนิ้วเสียงด้านข้างควรทาขี้ผึ้งที่ส่วนข้อต่อทุกครั้งก่อนเริ่มประกอบเครื่อง ระวังเรื่องการปรับสายคล้อง ตรวจสอบความมั่นคงและแน่นของสกรู ยึดข้อต่อและไม่ลืมคลายออกทุกครั้งที่ถอดเก็บ

3. การดูแลรักษาภายใน
ถอดลิ้นออก และทำการเช็ดและทำความสะอาดปากเป่า และคอเป่าด้วยผ้าทำความสะอาด เรียกว่า การ Cleaning Swab เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายที่ปลายปากเป่า ห้ามดึงไม้กวาดผ่านปากเป่าจนสุด และต้องรักษาผ้าเช็ดทำความสะอาดให้แห้งเสมอ
การทำความสะอาดคอปากเป่า ควรทำอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง และมีขั้นตอนการความสะอาดดังต่อไปนี้
– ผสมนำสบู่กับน้ำอุ่น ที่อุณหภูมิประมาณ 30 – 40 องศา ใช้อัตราส่วน น้ำสบู่ 1 ส่วน ต่อน้ำอุ่น 10 – 15 ส่วน
– ทำการปิดรูเสียงที่บริเวณคอปากเป่า เพื่อไม่ให้น้ำไหลออกมาจากทางรู เมื่อเราใส่น้ำยาลงไป
– นำแซ่ล้างแตรจุ่มน้ำยาหรือน้ำสบู่ทำความสะอาดภายในคอปากเป่าให้ทั่ว ทำซ้ำ 2 – 3 ครั้ง จนมั่นใจว่าสะอาด
– ล้างด้วยน้ำสะอาด ให้หมดคาบสบู่และคราบสกปรก สังเกตจากฟองและใช้นิ้วสัมผัส
– เช็ดคอปากเป่าด้วยผ้าแห้งสะอาด ด้วยการสอดผ้าเข้าไปและดึงปลายเชือกเข้าออก จนแห้ง

4. การทำความสะอาดภายนอก
การทำความสะอาด แผ่นอิเล็กโทรดกับรูโทนเสียง ด้วยการนำกระดาษทำความสะอาด วางระหว่างแผ่นอิเล็กโทรดกับรูโทนเสียง แล้วกดเบา ๆ เพื่อขจัดความชื้นออกไปให้หมด
เช็ดทำความสะอาดตัวเครื่องด้วยผ้า Polishing Cloth วิธีการคือชุบด้วยน้ำยา Lacquer Polish เล็กน้อย และเช็ดบริเวณที่สกปรก เครื่องที่ทำด้วยเงิน หรือชุบด้วยเงินให้ใช้น้ำยาขัดเงิน กรณีที่เคลือบด้วยแลคเกอร์พิเศษห้ามทำความสะอาดด้วยน้ำยาเช็ดนิเกิล เพราะจะส่งผลทำให้แลคเกอร์ที่เคลือบอยู่หลุดออกได้
การทำความสะอาดเฉพาะส่วน ใช้ผ้าชุบน้ำยาเล็กน้อย สอดตามร่อง ของกระเดื่อง หากซอกเล็กผ้าเข้าไม่ถึงให้ใช้ลวดสักหลาด
5. การดูแลรักษานวม
ห้ามใช้น้ำยา หรือน้ำทำความสะอาดนวม รวมทั้งน้ำฝน เราสามารถใช้กระดาษซับนวม ทำความสะอาดเมื่อเกิดความชื้น ด้วยการสอดกระดาษเข้าระหว่างรูเสียงนวม และกดแป้นหรือกระเดื่องหลาย ๆ ครั้ง หรือสามารถทำความสะอาดด้วยลวดสักหลาด
เมื่อทำความสะอาดเรียบร้อยแล้วอย่าลืมประกอบกลับเข้าไปอย่างถูกต้อง และนำใส่กล่อง หรือกระเป๋าสำหรับเก็บ แซกโซโฟน อย่างเรียบร้อย เมื่อเรามีการดูแลรักษาที่ดี ก็จะยืดอายุการใช้งานได้นานขึ้น ประหยัดเงินมากขึ้น และเสียงที่ได้จากการบรรเลงก็จะมีความไพเราะ เพราะไม่มีสิ่งสกปรกไปอุดตันท่อเสียงต่าง ๆ
อ่านบทความ แซกโซนมีกี่ประเภทมือใหม่ต้องรู้ไม่ควรพลาด!
อ่านบทความ วิธีการเลือกซื้อแซกโซโฟน
Picture credit : https://pixabay.com