สำหรับคนที่เข้าสู่วงการเครื่องสายใหม่ ๆ อาจสับสนและมักจะพบเจอกับคำศัพท์แปลกใหม่อยู่เสมอเช่นคำถามที่ว่า “เบส ที่ใช้อยู่เป็นแบบไหน Active หรือ Passive?” แน่นอนว่าคำถามนี้อาจสร้างความสับสนให้กับมือใหม่ได้ค่อนข้างมาก ในวันนี้เราจึงรวบรวมเกร็ดความรู้เล็ก ๆ น้อย ๆ มาแบ่งปันว่าระบบ Passive / Active ต่างกันอย่างไร พร้อมบอกเรื่องสำคัญที่มือใหม่ควรรู้ไว้
1. เบส ประเภท Passive / Active ต่างกันอย่างไร
ในความเป็นจริงแล้วระบบไฟฟ้าของเครื่องดนตรีชนิดนี้แบ่งได้ 2 สองระบบคือระบบไฟฟ้าแบบ Passive และ Active ซึ่งเป็นระบบจ่ายไฟให้กับตัวปิ๊กอัพ โดยความแตกต่างที่สามารถสังเกตเห็นได้ชัดเจนเลยคือ
- ระบบไฟแบบ Passive
เป็นระบบที่ไม่ต้องการไฟฟ้าเลี้ยงเข้าสู่วงจร เพราะฉะนั้นข้อดีของระบบไฟแบบ Passive ข้อแรกคือไม่ต้องใช้ถ่านหรือเปลี่ยนแบตเตอรี่ซึ่งเราสามารถเสียบเข้ากับแอมป์แล้วเล่นได้ทันที นอกจากนี้ Passive ยังให้เสียงที่ชัดเจน 100% ไม่ว่าจะเป็นเสียงจากตัวบอดี้ คอ เบส หรือตัว PU เนื่องจากระบบไฟฟ้าแบบ Passive เป็นระบบมีตัวแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นระบบพื้นฐาน จึงสามารถถูกส่งกระแสไฟผ่านสายเคเบิลหรือสายแจ็ค เข้าแอมป์ได้โดยตรง
- ระบบไฟแบบ Active
ระบบไฟแบบ Active เป็นหนึ่งในระบบที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก อีกทั้งตัวระบบยังทำงานตรงกันข้ามกับระบบ Passive อย่างสิ้นเชิง ซึ่งระบบไฟฟ้าภายในจะเป็นการเลี้ยงวงจรที่จำเป็นต้องใช้ถ่าน 9v หรือแบตเตอรี่
สำหรับข้อเสียของระบบไฟฟ้าแบบ Active คือ : ถ้าหากแบตเตอรี่หมดหรือถ่านหมดก็จะไม่สามารถใช้งานต่อได้ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องคำนวณเรื่องการใช้งานให้ดี
สำหรับข้อดีของระบบไฟฟ้าแบบ Active คือ : ความหลากหลายในการแต่งเสียงสามารถทำได้ทุกรูปแบบเนื่องจากระบบ Active สามารถแบ่งการทำงานได้อีก 2 รูปแบบ
- Active ที่ภาค Pre: เป็นระบบที่ไม่เรื่องแอมและไม่ว่าจะเจอแอมป์ประเภทไหนก็สามารถปรับ EQ จากตัว Pre เพื่อให้เกิดเสียงตามที่เราต้องการได้ง่ายและไม่ยุ่งยาก
- Active ที่ภาค PU: จะได้ out put ที่ดุดันแรง ให้เสียงชัดเจนเรียก จึงไม่ต้องกังวลว่าเสียงที่จะจมหรือเสียงหายเลย
2.เรื่องสำคัญที่มือใหม่ควรรู้
- เริ่มต้นเล่นด้วยการฟังและเน้นตามจังหวะกระเดื่องของกลอง : การจับจังหวะตามเสียงของกระเดื่อง จะช่วยให้ผู้เล่นยึดจังหวะได้ดีมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังสามารถตามจังหวะโซโลหรือเล่นตามโทนเสียงของกีตาร์ได้ไหลลื่นด้วย
- เน้นการเล่นเข้าวง : หลายคนคงทราบดีแล้วว่า เบสหนึ่งตัวเป็นตัวคุมจังหวะเสียงของวงทั้งหมด ดังนั้นการเล่นให้เข้าจังหวะกับวง เล่นให้กลมกลืน ไม่โชว์ลูกเล่นที่แพรวพราวหรือหวือหวามากจนเกินไป เน้นภาพรวมของวงให้ออกมาดีที่สุด จะช่วยให้การเล่นของเราดูเป็นมืออาชีพมากยิ่งขึ้น
- แบ่งช่วงใช้ลูกเล่นให้เป็น : การเล่น เบส ต้องจับคอร์ด เข้าใจเอกลักษณ์ของวง และที่สำคัญคือหาจุดแทรกความลื่นไหลให้บทเพลงเช่นคอร์ด G ไป D อาจเล่นเป็น G -> A -> B-> D เพื่อให้เกิดน้ำหนักของเสียงที่มีเสน่ห์ขึ้น
- ไม่เล่นแบบกีตาร์โซโล่ : เพื่อให้ควบคุมจังหวะและตามตัวโน้ตได้อย่างเหมาะสม สิ่งสำคัญคือ ต้องโซโลให้เป็นจังหวะ เพราะ rhythm คือสิ่งสำคัญยิ่งกว่าการ solo
- เล่นให้ได้อารมณ์ : เพื่อให้การเล่นดูไหลลื่นรวมถึงภาพรวมของเสียงเพลงทั้งหมดเป็นไปได้ด้วยดี ด้วยเหตุนี้เราจึงจำเป็นต้องฝึกซ้อมเรื่องของการสื่ออารมณ์หรือการเข้าถึงอารมณ์ให้ได้มากที่สุดเพื่อให้การเล่นและการเพิ่มจังหวะในแบบของตัวเองมีเสน่ห์และกลมกลืนไปกับบทเพลงได้อย่างลงตัว
- เล่นอย่างมั่นใจ : สิ่งสำคัญในการเล่นอีกเรื่องคือความมั่นใจ โดยเรื่องนี้เกิดขึ้นได้หลังจากที่เราฝึกซ้อมอย่างหนักและสามารถเข้ากับวงได้อย่างดี ดังนั้นสำหรับมือใหม่ที่เริ่มหัดเล่นจึงจำเป็นต้องใส่ใจในเรื่องของอารมณ์ มองภาพรวมของวง ตลอดจนการคุมซาวด์ เพื่อให้เสียงออกมาดี มั่นใจ หนักแน่น และมีเสน่ห์ในแบบของตัวเราเองให้ได้มากที่สุด
ดังที่กล่าวมาข้างต้น เบส แบบ Passive และ Active มีทั้งข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับลักษณะการเล่นและรูปแบบในการใช้งาน ดังนั้นสำหรับคนที่ชื่นชอบเสียงดุดัน เสียงแน่น ๆ ให้เลือกใช้ระบบไฟแบบ Active ส่วนคนที่ชื่นชอบสาย vintage เสียงนุ่มนวล กังวาน ชัดเจน ให้ใช้ระบบ Passive ทั้งนี้สำหรับมือใหม่จำเป็นต้องใส่ใจเรื่องสำคัญในการจับจังหวะ การเป็นหนึ่งเดียวกันกับวง และเข้าใจอารมณ์ของบทเพลง เพื่อเพิ่มเสน่ห์ให้เสียงดนตรีเป็นไปในแบบของเรามากที่สุด ซึ่งสิ่งต่าง ๆ จะเกิดขึ้นได้ดีที่สุดหลังจากการฝึกซ้อมอย่างหนักเท่านั้น
เครดิตรูปภาพจาก www.pixabay.com
อ่านบทความ ส่วนประกอบของ กลองไฟฟ้า และการดูแลรักษาที่ถูกต้อง
Credit : แอร์, ออกกำลังกาย, สุขภาพ, ขนมไทย, ของขวัญ