หลาย ๆ คนมักจะมีเครื่องดนตรีที่เราชอบ บางคนก็เป็นสิ่งที่ถนัดอยู่แล้ว หลายคนเล่นเป็นงานอดิเรก หลายคนเล่นเป็นอาชีพ อีกหนึ่งเครื่องดนตรีสากล ที่ได้รับความนิยม นั่นก็คือกลองชุด ซึ่งปัจจุบันนี้มีการพัฒนามาเป็น กลองชุดไฟฟ้า ซึ่งถือเป็นเครื่องดนตรีสากลที่ได้รับความนิยมมาก สำหรับมือใหม่ที่อยากมีเครื่องดนตรีดังกล่าวในครอบครอง แต่ยังไม่มีข้อมูล ดังนั้นวันนี้เราจึงจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับ ส่วนประกอบของ กลองไฟฟ้า และการดูแลรักษาที่ถูกต้อง
แน่นอนว่าสำหรับมือใหม่ที่ต้องการจะเล่นกลองไฟฟ้าจะต้องทำความรู้จักกับอุปกรณ์ดังกล่าวเสียก่อนว่าประกอบด้วยอะไรบ้าง รวมไปถึงเรื่องสำคัญที่สุดนั่นก็คือ การดูแลรักษา เพราะการเป็นนักดนตรีที่ดีนั้น การดูแลรักษาอุปกรณ์เครื่องดนตรี ย่อมเป็นสิ่งที่จำเป็นจะต้องปฏิบัติให้ถูกต้อง เพื่อให้เครื่องดนตรีของเราสามารถใช้งานได้นานขึ้น
ส่วนประกอบของกลองไฟฟ้า
1. สแนร์ เป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญของกลองชุด นั่นก็คือกลองที่มีลักษณะเป็นกลองขนาดเล็ก คล้ายกับที่ใช้ในวงดุริยางค์ และเป็นเครื่องดนตรีจำพวกเคาะตีทั้งหลาย ทำหน้าที่ในการบรรเลงจังหวะ ให้เข้ากับกลองใหญ่
2. เบสดรั๊ม สำหรับกลองตัวนี้มีลักษณะรูปร่างค่อนข้างใหญ่ ลักษณะคล้ายคลึงกับกลองใหญ่ที่ใช้บรรเลงในวงดุริยางค์ แต่ข้อแตกต่างคือขนาดของตัวกล้อง จะมีขนาดอยู่ที่ 14 x 24 นิ้ว หรือประมาณ 14 x 22 นิ้ว
3. กลองทอม กลองทอมเป็นกลองที่มีลักษณะค่อนข้างเล็ก และมีสองใบ แต่มีขนาดที่แตกต่างกัน โดยใบแรกจะติดอยู่ด้านซ้ายมือ และใบที่สองจะติดอยู่ด้านขวามือซึ่งจะมีลักษณะเล็กกว่า โดยมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 9 x 12 นิ้ว และอีกหนึ่งใบจะมีขนาด 14 x 14 นิ้ว นอกจากนี้ ทั้งสองใบด้านข้างจะมีรูสำหรับใส่แกนโลหะ มีไว้สำหรับเพื่อติดบนกลองใหญ่
4. กลองฟลอร์ทอม โดยมีการเรียกอีกชื่อนึงว่ากลองทอมใหญ่ มีลักษณะจะไม่ติดเส้นลวดขนาดของกลอง และมักจะมีขนาดสูงกว่ากลองทอมปกติ นอกจากนี้จะมีขาตั้งกับตัวฟลอร์ทอมตั้งอยู่ด้านขวาชิดกับกลองใหญ่
5. แฉ ลักษณะเหมือนฉาบ แต่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 20 – 30 นิ้ว อยู่ด้านขวามือ และ 16 – 18 นิ้ว อยู่ด้านซ้าย
6. ไฮแฮท ฉาบ 2 ใบ เส้นผ่าศูนย์กลาง 14 – 15 นิ้ว อยู่บนขาตั้ง ลักษณะประกบกัน
ข้อดีของการเล่น กลองไฟฟ้า ทำไมถึงควรเลือก กลองไฟฟ้า มากกว่ากลองชุดธรรมดา
1. กลองไฟฟ้ามีฟังก์ชันในการใช้งานเพียบ เรียกได้ว่าสามารถปรับความเร็วความแรง รวมไปถึงเสียงหนักเบาได้ดั่งใจ นอกจากนี้ยังมีลูกเล่นต่าง ๆ อัดแน่นมาในกลอง ทั้งยังสามารถใช้คอมพิวเตอร์ปรับแต่งแก้ไขลูกเล่นต่าง ๆ ได้ไม่ซ้ำ
2. สามารถเก็บได้ในพื้นที่การใช้งานที่จำกัด เนื่องจากว่ามีขนาดเล็ก สามารถเก็บได้ง่าย เหมาะกับคนที่อยู่อพาร์ทเม้นท์ คอนโด ห้องเช่า หรือบ้านที่มีขนาดเล็ก อุปกรณ์สามารถเก็บได้ง่าย ติดตั้งง่าย และยังไม่เป็นการรบกวนเพื่อนบ้าน เนื่องจากสามารถปรับเสียงให้เบาได้ตามความสะดวก
3. การบำรุงรักษาไม่ยุ่งยาก
การดูแลรักษากลองไฟฟ้า
1. ตัวกลองและอุปกรณ์ส่วนใหญ่ มักจะทำมาจากพลาสติกสามารถเช็ดล้างทำความสะอาดได้ง่าย ดังนั้นสิ่งที่เราสามารถทำได้คือการปัดฝุ่น และเช็ดถู หรือทำความสะอาดด้วยน้ำสบู่อ่อน ๆ หลังจากนั้นอย่าลืมเช็ดให้แห้ง อาจจะไม่จำเป็นต้องทำบ่อยเท่ากลองชุด
2. อุปกรณ์ส่วนใดก็ตามที่มีการขันน็อตยึดติดไว้ รวมไปถึงแป้นเหยียบทุกจุด จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องหมั่นทำความสะอาด แล้วอย่าลืมหยอดน้ำยาหล่อลื่นเป็นประจำ เพื่อให้การใช้งานมีประสิทธิภาพมากที่สุด
3. ดูแลไม่ให้มีคราบสนิม โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณฉาบ ซึ่งมักจะเกิดขึ้นได้ง่ายเนื่องจากว่ามือของเรานั้นมีคราบเหงื่อ เมื่อไปสัมผัสบ่อยเข้าอาจจะเกิดสนิมบริเวณนั้น
4. ทำความสะอาดโดยการใช้น้ำยาทำความสะอาด และอย่าลืมเคลือบและขัดเงาบริเวณที่เป็นทองเหลือง เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวฉาบเสียหาย
ก่อนที่เราจะซื้อเครื่องดนตรีชนิดใดมาก็ตาม สิ่งที่เราจะต้องมีนั่นก็คือเรามีความชอบในเครื่องดนตรีชนิดนั้นจริง ๆ หรือไม่ นอกจากนี้เรายังจะต้องศึกษาวิธีการดูแลรักษาอุปกรณ์ชิ้นส่วนต่าง ๆ ยกตัวอย่างเช่น กลองไฟฟ้า เอง มีทั้งประโยชน์เพราะช่วยให้เกิดความสุขและความสุนทรี ที่สำคัญยังดูแลรักษาง่าย อย่างไรก็ดีอย่าลืมหมั่นฝึกฝนและดูแลรักษาอุปกรณ์ชิ้นส่วนต่าง ๆ ให้มีความสวยงามเหมาะกับการใช้งานสม่ำเสมอ
อ่านบทความ รีวิว 10 อันดับ กลองไฟฟ้ายี่ห้อไหนดี แนะนำ ราคาถูกเสียงสมจริง
เครดิตรูปภาพจาก www.pixabay.com